พุทธประวัติ(รวบรวมโดย ครูสุวัฒนา รอบจังหวัด จากเว็ป หอมรดกไทย)
พระพุทธบิดา– พระพุทธมารดา พระพุทธบิดาคือ พระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธมารดาคือ พระนางสิริมหามายา
ประสูติ มูลเหตุของการประสูติ ตามพุทธประวัติมีสันนิษฐานอยู่ 2 นัยคือ
1. พระนางสิริมหามายา ปรารถนาจะประพาสอุทยาน
2.พระนางสิริมหามายา จะไปประสูติพระโอรสที่บ้านเดิมตามธรรมเนียมพราหมณ์ เจ้าชายสิทธัตถะประสูติเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ณ สวนลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะติดต่อกัน หลังประสูติได้ 3 วัน กาฬเทวินดาบสหรืออสิตดาบสเข้าเยี่ยม ประสูติได้ 5 วัน เชิญพราหมณ์ 108 มารับอาหาร และขนานพระนาม ประสูติได้ 7 วัน พระมารดาทิวงคต ชีวิตในวัยวัยเยาว์ การศึกษา เมื่อพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้เข้าศึกษาที่สำนักของครูวิศวามิตร ความสุขสำราญ พระราชบิดาได้รับสั่งให้ขุดสระ 3 สระ สร้างปราสาท 3 ฤดู ความรู้จักวางตน แม้พระองค์จะเป็นกษัตริย์ พระองค์ก็เคารพบูชาอาจารย์ยิ่งนัก อภิเษกสมรส เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา พระราชบิดาได้จัดอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือ พิมพา
ออกผนวช เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ได้มีความสุขสำราญในโลกิยสุขเป็นเวลา 29 พรรษา วันหนึ่งเมื่อพระองค์เสด็จประพาสอุทยาน ได้เห็นเทวทูตทั้ง 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ พระองค์ทรงดำริว่า “คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นความทุกข์ เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ควรเป็นสมณะที่มีความสงบ” ดังนี้เป็นต้น วันเดียวกันนั้นพระองค์ก็ทรงทราบข่าวการประสูติพระโอรส พระองค์จึงทรงเปล่งอุทานว่า “บ่วงเกิดแล้ว”สถานที่บวช เมื่อพระองค์พบเทวทูตทั้ง 4 แล้ว จึงตัดสินพระทัยออกผนวช วันออกผนวช ทรงม้ากัณฐกะและอำมาตย์ชื่อฉันนะตามเสด็จด้วย เมื่อเสด็จมาถึงแม่น้ำอโนมาจึงหยุดและตั้งจิตอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต
แสวงหาโมกขธรรม เมื่อบวชแล้ว เสด็จประทับที่อนุปิยอัมพวัน 7 วัน จึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อศึกษาในสำนักอาจารย์ใหญ่ ๆ คือครั้งแรก ศึกษาในสำนักของอาราฬดาบส กาลามโคตร ครั้งที่สอง ศึกษาในสำนักของอุทกดาบส รามบุตร แต่ยังไม่เป็นที่พอพระทัย จึงเสด็จต่อไปอีก จนถึงสถานที่รื่นรมย์แห่งหนึ่งอยู่ในเขตอุรุเวลาเสนานิคม จึงประทับ ณ ที่นั้น ตรัสรู้ในขณะที่พระมหาบุรุษกำลังบำเพ็ญเพียรอยู่นั้น ได้มีปัญจวัคคีย์ คือ โกญทัญญะ ๑ วัปปะ ๑ ภัททิยะ ๑ มหานามะ ๑ อัสสชิ ๑ ได้มาปรนนิบัติอยู่ตลอดกาลเป็นนิจ และเมื่อพระองค์ทรงละความพยายามในการบำเพ็ญทุกกรกิริยาแล้ว ปัญจวัคคีย์จึงได้พากันหลีกหนีไป
อธิษฐานจิต เมื่อปัญจวัคคีย์พากันหนีไปแล้ว พระองค์จึงได้บำเพ็ญเพียรทางใจตลอดมาจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 พระองค์ได้รับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา เมื่อเสวยเสร็จแล้ว จึงได้ลอยถาดทองคำในแม่น้ำเนรัญชรา เวลาเย็นทรงรับหญ้าคาจากโสตถิยพราหมณ์ และทรงปูลาดภายได้ต้นอัสสัตถพฤกษ์โพธิ์ และทรงอธิษฐานจิตว่า “แม้เนื้อหนังจะเหี่ยวแห้งไป ถ้าไม่บรรลุธรรมจะไม่ลุกจากอาสนะนี้”ในคืนวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 พระองค์ได้เจริญภาวนา ทำจิตให้เป็นสมาธิจนได้บรรลุฌานที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4
ยามที่ 1 พระองค์ได้บรรลุบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยามที่ 2 พระองค์ได้บรรลุจตูปปาตญาณ
ยามที่ 3 พระองค์ได้บรรลุอาสวักขยญาณ
ในที่สุดแห่งยามที่ 4 พระองค์ได้บรรลุอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
ประกาศศาสนา โปรดปัญจวัคคีย์ เมื่อพระองค์ได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี และโปรดปัญจวัคคีย์ด้วยพระธรรมเทศนา ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จนปัญจวัคคีย์ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด โปรดชฏิล 3 พี่น้อง พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า ถ้าจะประกาศศาสนาให้ได้ผลดี ต้องทำให้ชฏิล 3 พี่น้องนับถือเสียก่อน เพราะทั้ง 3 เป็นผู้มีหมู่ชนนับถือมากในแคว้นมคธ พระองค์จึงได้โปรดชฏิล 3 พี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ ๑ นทีกัสสปะ ๑ คยากัสสปะ ๑ ด้วยพระธรรมเทศนาชื่อว่า อาทิตปริยายสูตร โปรดพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อพระองค์โปรดชฏิล 3 พี่น้องแล้วจึงพร้อมด้วยพระอรหันต์ 1,003 รูป ไปประทับอยู่ในสวนตาลหนุ่ม หรือ ลัฏฐิวัน พระเจ้าพิมพิสาร พร้อมด้วยบริวารเสด็จมาเฝ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า พระเจ้าพิมพิสารและบริวารได้ถึงไตรสรณคมน์ ยอมรับพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก พระเจ้าพิมพิสารได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกเข้ารับภัตตาหารในเช้าวันรุ่งขึ้น และได้ถวายอุทานเวฬุวันเป็นพระอารามแห่งแรกในพุทธศาสนาส่งทูตเชิญเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทธโธทนะ ได้ทราบข่าวว่า บัดนี้พระโอรสของพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว และกำลังประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ จึงได้ส่งทูตไปอัญเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จนิวัติกรุงกบิลพัสดุ์ และกาฬุทายีอำมาตย์ได้เป็นผู้ทูลเชิญเสด็จ พระพุทธเจ้าทรงรับการเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ พระประยูรญาติถวายการต้อนรับ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่กรุงกบิลพัสดุ์ ประชาชน ชาวเมืองได้พากันทำความสะอาด ประดับบ้านเรือนด้วยดอกไม้อย่างวิจิตร และประยูรญาติได้สร้างนิโครธารามถวายเป็นที่ประทับเสด็จโปรดพระบิดา ครั้นวันรุ่งขึ้น พระองค์ได้เทศนาโปรดพระบิดา ในขณะที่ดำเนินภิกขาจารตามท้องถนนจนพระเจ้าสุทโธทนะบรรลุโสดาปัตติผล เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อพระเจ้าได้ประกาศศาสนามาถึง 45 พรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนที่พระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น ได้โปรดสุภัททะปริพาชกเป็นครั้งสุดท้าย และเป็นสาวกรูปสุดท้าย พระมหากัสสปะถวายบังคมพุทธสรีระ เมื่อพระองค์โปรดสุภัททะแล้ว จึงเสด็จปรินิพพาน ณ ไม้สาละทั้งคู่ (ไม้รัง) บริเวณสาลวโนทยาน เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ โดยมีมัลลกษัตริย์ เป็นผู้จัดการพระพุทธสรีระ หลังปรินิพพานได้ 8 วัน พระมหากัสสปะได้เข้าถวายบังคมลาพุทธสรีระที่บริเวณมกุฎพันธเจดีย์ และเป็นวันถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6